วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

สรุป tense

Parts of Speech
ประเภทของคำในประโยคภาษาอังกฤษ
o Verb กิริยา คำที่แสดงการกระทำ เช่น (to) be, have, do, like, work, sing, can, must
o Noun คำนาม คือคำที่แทนสิ่งต่างๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ เช่น pen, dog, work, music, town, London, teacher, John
o Adjective คำขยาย(บรรยาย)คำนาม เช่น a/an, the, some, good, big, red, well, interesting (มักอยู่หน้าคำนาม)
o Adverb คำขยาย Verb, Adjective หรือขยาย Adverb เอง มักลงท้ายด้วย -ly เช่น quickly, silently, well, badly, very, really (มักอยู่หน้า verb หรืออยู่ท้ายประโยค)
o Pronoun คำสรรพนาม เอาไว้พูดแทนคำนามที่พูดไปแล้ว เช่น I, you, he, she, some
o Preposition คำบุพบท ใช้เชื่อมคำนามกับคำนามอื่น เช่น in, on, at, to, after, under, over, from (มักอยู่หลังคำนามที่มันไปขยาย)
o in ใช้กับบอกตำแหน่งแบบกว้างๆ ไม่เจาะจง เช่น in May(เดือน), in 2010(ปี), in Bangkok(จังหวัด), in Thailand (ประเทศ)
o on ใช้กับการบอกตำแหน่งแบบเจาะจงยิ่งขึ้น เช่น on Tuesday (วัน), on Sukhumvit Road (ถนน)
o at ใช้กับการบอกตำแหน่งแบบเจาะจงที่สุด เช่น at 11:00(เวลา), at Central World (สถานที่เจาะจง)
o Conjunction คำสันธาน เอาไว้เชื่อมประโยค หรือเชื่อมคำ เช่น and, but, or, nor, for, yet, so, although, because, since, unless
ประโยคในภาษาอักฤษ
การที่จะสร้างประโยคได้ จะต้องประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลักๆ คือ Subject (ประธาน) + Verb (กิริยา) และถ้ากิริยานั้นต้องการกรรมด้วย ก็ต้องมี Object (กรรม) ด้วย
o สิ่งที่จะเป็นประธานของประโยคได้นั้นก็คือคำที่ทำหน้าที่เป็นคำนาม เช่น Noun เอง หรือจะเป็น Pronoun ก็ได้ แต่ก็อาจมีตัวมาขยายคำนามซึ่งก็คือ Adjective หรือ อาจมีตัวที่จะมาเชื่อมคำนามด้วย ซึ่งก็คือ Preposition
o ส่วนกิริยานั้นจะต้องเป็น Verb ซึ่งก็อาจมีตัวมาขยายซึ่งก็คือ Adverb
o และส่วนที่เป็น Object ก็จะเป็นคำที่ทำหน้าที่เป็นคำนาม เช่นเดียวกับประธานของประโยค
o และเมื่อเราต้องการเชื่อมประโยคหลายๆ อันเข้าด้วยกัน ก็จะต้องใช้ Conjunction ในการเชื่อมนั่นเอง
คำนาม เอกพจน์ พหูพจน์ การนับคำนาม
o คำนามเอกพจน์ จะตามด้วย is/am/has/does/Vเติม s,es เมื่อใช้ Present Simple
o คำนามพหูพจน์ จะตามด้วย are/have/do/V ไม่เติม s,es เมื่อใช้ Present Simple
o เวลาใช้นามขยายนาม นามตัวหน้าจะห้ามเติม s เด็ดขาด เช่น Vegetable soup
o ถ้าใช้นามขยายนาม แล้วนามตัวขยายมีการใช้ร่วมกับตัวเลข จะใช้คำนามเอกพจน์ เชื่อมด้วย – เช่น five-year-old son
o นามนับได้เอกพจน์ ถ้าไม่เจาะจงจะนำหน้าด้วย a, an (กรณีที่คำตามหลังออกเสียง ออ-) หรือใช้ the ในกรณีที่เจาะจง หรือผู้ฟังรู้อยู่แล้วว่าพูดถึงอะไรอยู่
o นามนับไม่ได้ จะถือว่าเป็นเอกพจน์เสมอ และจะไม่มีการใช้ a/an นำหน้าด้วย
o นามนับได้เอกพจน์ สามารถนำหน้าด้วย one, each, every
o นามนับได้พหูพจน์ สามารถนำหน้าด้วย two, both, a couple of, a few, several, many, a number of
o นามนับไม่ได้ สามารถนำหน้าด้วย a little, much, a great deal of
o ส่วนตัวที่นำหน้าได้ทั้งนามนับได้และนับไม่ได้ คือ not any/no, some, a lot of, lots of, plenty of, most, all
o a few / a little เป็นคำในแง่ดี คือ พอมีอยู่
o few / little เป็นคำในแง่ลบ คือมีน้อยมาก
o other = อันอื่น / another อีกอันหนึ่งจากสิ่งที่พูดถึง / the other(s) อันที่เหลือจากส่งที่พูดถึง อ่านต่อ